บทวิเคราะห์

คุณค่าด้านเนื้อหา

๑.) รูปแบบ
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เป็นชื่อคัมภีร์หนึ่งที่รวบรวมความรู้หลากหลายจากตำราอื่นๆ ในชุดแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เนื้อหาแบ่งเป็นตอนๆ ๑๘ ตอน ผู้แต่งเลือกใช้คำประพันธ์ในการนำเสนอเนื้อหาได้อย่างเหมาะสม ด้วยเนื้อหาที่มีคุณค่า เช่น สอนธรรมนแพทย์ ข้อควรปฏิบัติสำหรับแพทย์ ความรู้เกี่ยวกับโรคและการรักษาโรคของแพทย์แผนไทย
๒.) องค์ประกอบของเรื่อง
๒.๑) สาระ
ส่วนที่คัดเลือกมาให้เรียนเป็นการกล่าวถึงความสำคัญของแพทย์และคุณสมบัติที่แพทย์พึงมี ซึ่งจะช่วยให้รักษาโรคได้ผลมากกว่ารู้เรื่องยาเพียงอย่างเดียว
๒.๒) โครงเรื่อง
การลำดับเนื้อความเริ่มต้นด้วยบทไหว้พระรัตนตรัย ไหว้เทพเจ้าของพราหมณ์ไหว้หมอชีวกโกมารภัจจ์ และไหว้ครูแพทย์โดยดำเนินไปเนื้อหาที่กล่าวถึงความสำคัญของแพทย์และอรรถาธิบายธรรม ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่แพทย์พึงมี และจบตอนท้ายกล่าวถึง ทับ ๘ ประการ
๒.๓) กลวิธีการแต่ง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์เป็นหนังสือที่จัดเป็นตำรามีเนื้อหาเฉพาะด้าน การนำเสนอใช้โวหารอธิบายเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อกล่าวถึงเรื่องที่เป็นนามธรรมผู้เขียนจะเลือกใช้อุปมาโวหาร ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ง่ายและทำให้เห็นภาพ ดังตัวอย่าง

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑.) การสรรคำ
ผู้แต่งได้เลือกใช้คำที่สื่อความคิด ความเข้าใจ ดังนี้
๑.๑.) การใช้ถ้อยคำที่เหมาะกับเนื้อเรื่องและบุคคลในเรื่อง
การเลือกใช้คำที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้เข้าใจได้อย่างตรงไปตรงมา
๑.๒.) การใช้สำนวนไทย
มีการใช้สำนวนไทยประกอบการอธิบาย ช่วยให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังตัวอย่าง
๑.๓.) การใช้โวหาร
มีการใช้ถ้อยคำในการเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายและเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังตัวอย่าง

คุณค่าด้านสังคม

๑.) สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมไทย
ฉันทศาสตร์บำบัดจะมีความหมายว่า ตำรา (ศาสตร์) ที่แต่งเป็นสูตร (ฉันท) ตามอย่างตำราแพทย์ในคัมภีร์อรรถศาสตร์ และด้วยเหตุที่ว่ากัมม์หรือกรรมพยาก มีเรื่องราวเกี่ยวกับไสยศาสตร์ด้วย จึงมักเรียกว่า “คัมภีร์ไสย” ดังปรากฏชื่อกองกามในบางประเทศที่กล้าอ้างถึงคัมภีร์ไสยไว้ว่า
๒.) สะท้อนให้เห็นคุณค่าเรื่องแพทย์แผนไทย
ถ้าจะพินิจในส่วนที่พรรณนาถึงทับ ๘ ประการเราจะปฏิเสธไม่ได้ว่าการแพทย์แผนไทยเป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งเป็นแพทย์ทางเลือกที่ยังจำเป็นเราจะคิดว่าเป็นเรื่องล้าสมัยไม่ได้ซึ่งปัจจุบันการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ก็กลับมาให้ความสำคัญต่อคุณสมบัติของพืชสมุนไพรในแต่ละท้องถิ่นโดยถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดรักษาโรคให้กับคนไข้
๓.) สะท้อนข้อคิดเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต
ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกวิชาชีพ เพราะไม่ว่าจะเป็นบุคคลในอาชีพใด ถ้าไม่มีความประมาท ความอดทน ความวิริยะ ความมีหน้าที่ ความโลภ และศีลธรรมประจำใจ ย่อมได้รับการยกย่องจากบุคคลต่างๆ โดยเฉพาะอาชีพแพทย์ ซึ่งเป็นผู้รู้จริงรู้จัง ตั้งแต่การวินิจฉัยตามภูมิปัญญาของโรค การใช้ยา ด้วยสามารถบอกยาปกติไม่ประมาท โดยนำคำสอนในพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางดังตัวอย่าง
๔.) ให้ความรู้เรื่องศัพท์ทางการแพทย์แผนโบราณ
เช่น คำว่า “ธาตุพิการ” หมายถึง ธาตุทั้ง 4 ในร่างกายผันแปรผิดปกติไป ทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นตามองค์ธาตุเหล่านั้น คำว่า “กำเดา” หมายถึง อาการไข้ อย่างหนึ่งมักเกิดทางหัว เรียกว่า “ไข้กำเดา” อาการของโรคจะมีเลือดออกทางจมูกเรียกว่า เลือดกำเดา คำว่า “ปวดมวน” หมายถึง อาการปวดบีบป่วนในท้อง เป็นต้น