ยุโรปสมัยกลางตอนปลาย

Medieval Europe


การพัฒนาการของยุโรปสมัยกลาง



ยุโรปสมัยกลางตอนปลาย


ในราว ค.ศ. 1300 ยุคสมัยความรุ่งเรื่องและเติบโตในยุโรปนั้นดำเนินมาจนถึงจุดหยุดนิ่ง โดยเกิดทั้งเหตุการณ์ขาดแคลนอาหารและโรคระบาดต่าง ๆ รวมถึงทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ ค.ศ. 1315–1317 และกาฬมรณะ อันเป็นเหตุให้ประชากรในยุโรปนั้นลดลงกว่าครึ่งหนี่งจากสมัยก่อนหน้า[2] ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบต่าง ๆ และการติดพันในสงครามต่าง ๆ ด้วย ฝรั่งเศสและอังกฤษประสบกับเหตุความไม่สงบอย่างรุนแรงจากชาวนา เช่น สงคราวชาวนาฝรั่งเศส สงคราวชาวนาอังกฤษ รวมทั้งความไม่สงบสืบเนื่องจากการสงครามต่าง ๆ กินเวลาต่อเนื่องกว่าศตวรรษ (สงครามร้อยปี) นอกจากนี้แล้วคริสตจักรคาทอลิกยังถูกท้าทายด้วยศาสนเภทตะวันตก โดยมักเรียกเหตุการณ์สำคัญต่างๆ นี้รวมกันว่าวิกฤติกาลของปลายสมัยกลางของยุโรป นอกเหนือจากวิกฤติกาลต่างๆ นั้น ศตวรรษที่ 14 ยังเป็นช่วงเวลาของความก้าวหน้าครั้งใหญ่ในด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ด้วย อันสืบเนื่องมาจากการกลับมาสนใจในบันทึกโบราณในสมัยกรีกและโรมันโดยมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงสมัยกลางตอนเฟื่องฟู จึงทำให้เกิดสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีขึ้น การเริ่มกลับมาศึกษาบันทึกภาษาลาตินได้เริ่มขึ้นก่อนหน้าในช่วงสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาในศตรวรรษที่ 12 ผ่านทางการติดต่อค้าขายกับชาวอาหรับในช่วงสงครามครูเสด ส่วนที่มาของบันทึกกรีกอันสำคัญนั้นมาจากการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลโดยจักรวรรดิออตโตมันซึ่งในเหตุการณ์นี้เหล่านักปราชญ์ชาวไบแซนไทน์ได้ลี้ภัยสงครามมายังตะวันตกโดยเฉพาะในอิตาลีเป็นสำคัญ[4] ประกอบกับแนวคิดสมัยคลาสสิกต่างๆ ที่มีอิทธิพลมากขึ้นรวมถึง การคิดค้นเครื่องพิมพ์ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเผยแพร่แนวคิดด้านประชาธิปไตยผ่านทางงานพิมพ์ ซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ในที่สุด และในช่วงปลายสมัยนี้ ยุคแห่งการค้นพบ ก็ได้อุบัติขึ้น โดยการขยายอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันได้ตัดขาดการพาณิชย์ระหว่างยุโรปกับประเทศตะวันออกอย่างสิ้นเชิง ชาวยุโรปจึงต้องแสวงหาเส้นทางการค้าใหม่ๆ ซึ่งทำให้เกิดการสำรวจเส้นทางเดินเรือโดยชาวสเปนภายใต้การนำของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสที่ค้นพบทวีปอเมริกาในปีค.ศ. 1492 และวัชกู ดา กามาที่เดินทางไปยังแอฟริกาและอินเดียในปีค.ศ. 1498 การค้นพบใหม่ๆ นี้ทำให้เศรษฐกิจและอำนาจของชาติต่างๆ ในยุโรปนั้นมีความเข้มแข็งขึ้น


     

ช่องทางการติดต่อ
 Facebook : Sathita Singon   ,   Phattaratida Mangsuwan
  Gmail :335365@sappha.ac.th   ,   31378@sappha.ac.th
  แหล่งอ้างอิง : หนังสือประวัติศาสตร์ ม.5
ⓒ Copywriting :sathita & Phattaratida