สมัยสุโขทัย
กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีที่ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดของชนชาติไทย มีระยะเวลาอยู่
ในช่วงราวปี พ.ศ. ๑๗๖๒ ถึง พ.ศ. ๑๘๙๓ (ค.ศ. ๑๒๑๙ ถึง ค.ศ. ๑๓๕๐) ซึ่งตรงกับช่วงยุคดกลางของ
ประวัติศาสตร์ตะวันตก โดยก่อนที่ชนชาติไทยจะอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดนแห่งนี้ เดิมเป็นที่อยู่ของหลาย
ชนชาติทั้ง ขอม มอญ และละว้า ซึ่งแต่ละชนชาติต่างก็มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ทั้งนี้ หลักฐาน ต่างๆที่สามารถ
ใช้สืบค้น และพอจะสามารถอ้างอิงวิวัฒนาการของตนตรีไทยในกรุงยุคสุโขทัยได้จากจารึก และภาพเขียนต่างๆเช่น
หลักฐานจารึกสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) จากไตรภูมิพระร่วง ในอุตรกุรุทวีป
ดังนั้น เครื่องดนตรีในยุคกรุงสุโขทัย สรุปจากหลักฐานดังกล่าวพอจะสรุปได้ว่า ชนชาติไทยในยุคนั้นมีเครื่องดนตรีที่ใช้ละเล่นกัน
ได้แก่ พิณ สันนิษฐานว่าเป็น พิณน้ำเต้า ซอพุงตอ ซึ่งคาดว่า หมายถึงซอสามสาย มโหระทึก ฆ้อง ระฆัง กังสดาล กรับ
กลองทัด ตะโพน บัณเฑาะว์ แตรเขาควาย สังข์ ขลุ่ย เป็นต้น มีการบรรเลงแบบเดี่ยว อย่าง การบรรเลงพิณประกอบกับ
การขับลำนำซึ่งผู้ติดเป็น คนขับลำนำเอง จนไปถึงการรวมวงดนตรีอย่างง่าย ๆ เช่น วงขับไม้ ประกอบไปด้วย คนขับลำนำ
คนไกวบัณเฑาะว์เพื่อให้จังหวะ และคนสีซอสามสายเพื่อ คลอเสียงคนขับลำนำ ซึ่งวงดนตรีดังกล่าวนี้มักใช้กับพระราชพิธี
เท่านั้นเช่น พิธีสมโภชพระมหาเศวตร ฉัตร เป็นต้น และวงปี่พาทย์เครื่องห้า ที่ได้รับอิทธิพลมาจากวงดนตรีที่มีชื่อว่า
“ปัญจดุริยางค์” ของอินเดีย ซึ่งประกอบด้วยเครื่องดีและเครื่องเป่าที่ใช้ในการบรรเลง ๕ อย่าง ประกอบไปด้วยปี ฆ้อง
ตะโพน กลอง ทัดใบเดียวและฉิ่ง อีกทั้งยังมี วงแตรสังข์ เป็นเครื่องประโคมประกอบพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์
ในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ประกอบไปด้วย สังข์ แตรฝรั่ง แตรงอน ปี่ไฉน กลองชนะ บัณเฑาะว์ และ มโหระทึก
ส่วนบทเพลง มีเพลงดั้งเดิมของไทยหลายเพลงที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นในยุคนี้ เช่น เพลงเทพทอง เพลงนางนาคและเพลงขับไม้บัณเฑาะว์
แต่เนื่องจากไม่มีการบันทึกโน้ตเพลงไว้เป็นหลักฐาน จึงไม่มีใคร ทราบแน่นอนว่าบทเพลงในยุคกรุงสุโขทัยเป็นอย่างไร