ระบบสุริยะเกิดจากเนบิวลาสุริยะ1. ระบบสุริยะเกิดจากเนบิวลาสุริยะ ซึ่งประกอบด้วยฝุ่นและแก๊ส โดยแก๊สส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน รองลงมาคือฮีเลียมและธาตุหนักต่าง ๆ ทั้งนี้มวลของเนบิวลาสุริยะประมาณร้อยละ 99.8 จะรวมตัวกัน เป็นดวงอาทิตย์ก่อนเกิด ที่บริเวณศูนย์กลางของระบบสุริยะและมีวิวัฒนาการต่อมาเป็นดวงอาทิตย์ ส่วน ที่เหลือจากการรวมตัวเป็นดวงอาทิตย์จะรวมตัวเป็นจานกำเนิดดาวเคราะห์ที่หมุนวนรอบดวงอาทิตย์ ก่อนเกิด |
|
จานกำเนิดดาวเคราะห์ประกอบด้วยฝุ่น2. จานกำเนิดดาวเคราะห์ประกอบด้วยฝุ่นและแก๊สที่เหลือจากการรวมตัวเป็นดวงอาทิตย์ โดยจะกระจายล้อมรอบดวงอาทิตย์ สสารที่มีจุดหลอมเหลวสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารประกอบของ ธาตุหนักต่าง ๆ จะอยู่ในบริเวณใกล้ดวงอาทิตย์ ส่วนสสารที่มีจุดหลอมเหลวต่ำซึ่งส่วนใหญ่เป็นแก๊ส จะถูกผลักออกไปไกลจากดวงอาทิตย์ |
|
บริเวณจานกำเนิดดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์3. ฝุ่น แก๊ส และสารประกอบของธาตุหนัก จะเกิดการควบแน่นเป็นของเหลวและของแข็งตามลำดับ โดยสสารนี้จะเกิดการชนกันและรวมตัวกันด้วย แรงโน้มถ่วงเกิดการพอกพูนมวล (accretion) เกิดเป็นกลุ่มก้อนของแข็งที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เรียกว่า วัตถุดาวเคราะห์ (planetesimal) ดังรูป 3.3 (ก) หลังจากนั้นวัตถุดาวเคราะห์ต่าง ๆ จะชนกันและรวมตัว กันด้วยแรงโน้มถ่วงเกิดการพอกพูนมวลอีก จนเป็นดาวเคราะห์ก่อนเกิด (protoplanet) ที่มี ขนาดเล็กดังรูป 3.3 (ข) มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 กิโลเมตร จากนั้นดาวเคราะห์ก่อนเกิดจะชนกัน แล้วพอกพูนมวลจนกระทั่งมีขนาดใหญ่ขึ้นกลายเป็นดาวเคราะห์หิน (rocky planet) ขนาดต่าง ๆ จำนวน 4 ดวง ดังรูป 3.3 (ค) ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ชั้นใน และอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์จากใกล้ไปไกล ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ตามลำดับ |