เรื่องตะเลงพ่ายนี้ คำว่า ตะเลง หมายถึง มอญ พ่าย แปลว่า แพ้ คำว่า ตะเลงพ่ายแปลตามตัวอักษรคือมอญแพ้ แต่พม่าเป็นผู้ปกครองมอญอยู่ คำว่าตะเลงในที่นี้จึงหมายถึง พม่าและมอญเป็นผู้แพ้สงคราม เรื่องนี้มี๑๒ ตอน เริ่มเรื่องด้วยการกล่าวถึงการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงขึ้นครองราชย์โดยมีสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระมหาอุปราช พระเจ้าหงสาวดีทรงทราบข่าวไทยผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ก็ปรารภจะมาตีไทยเพื่อหยั่งเชิง จึงมีพระราชบัญชาให้พระมหาอุปราชายกทัพมาตีไทย พระมหาอุปราชาฝืนร้ายและมีลางสังหรณ์ แต่ถูกพระราชบิดาปรามาส จึงจำใจยกทัพมาตีไทย เมื่อลานางสนมแล้วก็ยกทัพเข้ามาทางเมืองกาญจนบุรี ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรปรารภจะไปตีเขมรครั้นรู้ข่าวก็ทรงเตรียมการสู้ศึกพม่า ทรงตรวจและตระเตรียมกองทัพ พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึก แล้วยกทัพเข้ามาปะทะทัพหน้า ของไทย ส่วนสมเด็จพระนเรศวรก็ทรงปรึกษาเพื่อหาทางเอาชนะข้าศึก เมื่อทัพหลวงเคลื่อนพล ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรและช้างทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถกำลังตกมัน ก็เตลิดเข้าไป ภาพจิตรกรรมฝ่าผนังการทำยุทธหัตถีระหว่าง ในวงล้อมของข้าศึก ณ ตำบลตระพังตรุ สมเด็จ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชา พระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหา ณ วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อุปราชา ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถนั้นทรงกระทำยุทธหัตถีกับมางจาชโรและได้รับชัยชนะ ทั้งสองพระองค์ เมื่อพระมหาอุปราชาถูกฟันขาดคอช้าง กองทัพหงสาวดีก็แตกพ่ายกลับไปสมเด็จพระนเรศวรทรงปูนบำเหน็จทหารและปรึกษาโทษนายทัพนายกองที่ตามช้างทรงเข้าไปในกองทัพพม่าไม่ทัน สมเด็จพระวันรัตทูลขอพระราชทานอภัยโทษแทนแม่ทัพนายกอง ทั้งหมด สมเด็จพระนเรศวรก็โปรดพระราชทานอภัยโทษให้ โดยให้ยกทัพไปตีทวายและตะนาวศรีเป็นการแก้ตัว จากนั้นได้ทรงจัดการทำนุบำรุงหัวเมืองทางเหนือ เจ้าเมืองเชียงใหม่มาสวามิภักดิ์ขอเป็นเมืองขึ้น สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงรับทูตเชียงใหม่และเรื่องจบลงด้วยการยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวร ตอนท้ายกล่าวถึงธรรมะสำหรับพระเจ้าแผ่นดินและบอกจุดมุ่งหมายในการแต่ง บอกชื่อผู้แต่ง สมัยที่แต่งและคำอธิษฐานของผู้ทรงพระนิพนธ์ คือ ขอให้บรรลุโลกุตรธรรมแต่ถ้ายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ก็ขอให้ได้เป็นกวีทุกชาติไป